กิ๊บลวดหนาม

แชร์ให้เพื่อน

กิ๊บลวดหนาม

กิ๊บลวดหนาม หรือ กิ๊บล็อคลวดหนาม คืออุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยในการติดตั้งรั้วลวดหนามให้มีความมั่นคง หนาแน่น
กิ๊บลวดหนามใช้สำหรับขึงยึดลวดหนามกับเสารั้ว ขึ้นรูปหรือดัดเป็นตัววี (V) หรือตัวยู (U) กิ๊บลวดหนามออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย ประหยัดเวลาในการทำงาน

กิ๊บลวดหนาม ผลิตจากเส้นลวดขนาด 3.2 มม. เคลือบกัลวาไนซ์ป้องกันสนิม เพื่อเพิ่มความคงทน ทนต่อการกัดกร่อน และการเกิดสนิม มีความแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน

กิ๊บลวดหนาม เรียกหลายชื่อ กิ๊บล็อคลวดหนาม หรือ กิ๊บรัดลวดหนาม

 

ประเภทของกิ๊บลวดหนาม
กิ๊บล๊อคลวหนามมี 2 ประเภท หลักๆ คือ
1.กิ๊บล๊อคลวดหนามตัว V ผลิตจากเส้นลวดขนาด 3.2 มม. เคลือบกัลวาไนส์ ดัดเป็นรูปตัว วี (V) ใช้งานสำหรับยึดรั้วให้ติดกับเสา
2.กิ๊บล๊อคลวดหนามตัว U ผลิตจากเส้นลวดขนาด 3.2 มม. เคลือบกัลวาไนส์ ดัดเป็นรูปตัว ยู (U)

ไซส์ของกิ๊บลวดหนาม

  • ความหนาเส้นลวดประมาณ 3 มม. – 3.2 มม. แล้วแต่ผู้ผลิต
  • ความยาวประมาณ 2.5-4 นิ้ว ไซส์มาตรฐาน
  • ความยาวประมาณ 5 นิ้ว – 6 นิ้ว (ใหญ่) สำหรับเสาขนาดใหญ่

 

ขนาดบรรจุ

  • กิ๊บล็อคลวดหนามรุ่นตัว U และตัว V ปริมาณบรรจุ 1 กระสอบ หนักประมาณ 1 กิโลกรัม จำนวนบรรจุ 100 ตัว
  • กิ๊บล็อคลวดหนามรุ่นตัว U และตัว V ปริมาณบรรจุ 1 กระสอบ หนักประมาณ 10 กิโลกรัม จำนวนบรรจุ 1,000 ตัว

คุณสมบัติ

  • เป็นเส้นลวดหนา ปรมาณ 3.2 มม. ยาว 2.5 – 6 นิ้ว ดัดเป็นรูปตัว วี (V) หรือ ตัว ยู (U)
  • ดัดใช้งานง่าย ยึดล็อกลวดหนามได้ดี ทนต่อแรงดึง ไม่หลุดง่าย
  • ผลิตจากเหล็กคุณภาพชุบกัลวาไนท์ ทนทานต่อการเกิดสนิม อายุการใช้งานยาวนาน
  • ติดตั้งง่าย ไม่ซับซ้อน ประหยัดเวลา

วิธีใช้งานและการติดตั้ง
1.เตรียมกิ๊บล๊อคลวดหนาม ตัววี หรือตัวยู
2.ตอกยึดลวดหนาม โดยสอดกิ๊บเข้าไปในรูเสาปูนหรือคอนกรีต โดยยึดลวดหนามไว้
3.ดัดและยึดลวดหนามให้ติดแน่นกับเสา โดยหมุนตัวกิ๊บให้แน่นหนา

 

ข้อมูลเพิ่มเติม 


แชร์ให้เพื่อน

ตาข่ายถักเคลือบพีวีซี ไซส์ที่นิยม

แชร์ให้เพื่อน

ตาข่ายถักเคลือบพีวีซี ไซส์ที่นิยม

หลายคนๆ ที่อยากซื้อตาข่ายถักเคลือบพีวีซี มาใช้ทำรั้ว คงเคยมีคำถามในใจว่าจะเลือกซื้อขนาดเท่าไหร่ดี และตาข่ายถักขนาดเท่าไหร่ ที่เป้นที่นิยมใช้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ

ตาข่ายถักแบบชุบพีวีซี (ตาข่ายถัก เคลือบ PVC) หรือตาข่ายเคลือบพีวีซี เป็นตาข่ายถักช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่ชุบหรือเคลือบพีวีซี โดยเราพบเห็นการใช้งานตาข่ายถักแบบชุบพีวีซีได้ตามสถานที่ต่างๆ โดยใช้ทำรั้ว, ทำกรงสัตว์ หรือประยุกต์ใช้งานอื่นๆ

โดยจากการสำรวจพบว่า ตาข่ายถักเคลือบพีวีซีขนาดที่เป็นที่นิยม มีขนาดดังนี้

เบอร์ลวด และขนาดลวด
– ลวดเบอร์ 8 (4 มิลลิเมตร)
– ลวดเบอร์ 10 (3.20 มิลลิเมตร)
– ลวดเบอร์ 12 (2.60 มิลลิเมตร)

ความกว้างของม้วน
– 1 เมตร
– 1.2 เมตร
– 1.5 เมตร
– 2 เมตร

ความยาวของม้วน
– 10 เมตร

ตาห่างของช่อง
– 1 1/2 นิ้ว
– 2 นิ้ว

ขนาดของตาข่ายถักตามข้อมูลข้างต้น เป็นตาข่ายถักที่นิยมผลิตและใช้งานกัน นอกจากนี้ยังสามารถสั่งผลิตตะแกรงถักเคลือบพีวีซีตามขนาดที่ต้องการได้ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม ตาข่ายถักเคลือบพีวีซี


ตาข่ายถักเคลือบพีวีซี
ตาข่ายถักเคลือบพีวีซี

 

ตาข่ายถักเคลือบ PVC
ตาข่ายถักเคลือบ PVC

แชร์ให้เพื่อน

มาตรฐานของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน

มาตรฐานของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

ไวร์เมชของเราเป็นไวร์เมชที่รับรองมาตฐาน โดยเราได้รับมาตรฐาน มอก. ทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยที่นำมาผลิตตะแกรงไวร์เมช

และได้มาตรฐาน มอก. เหล็กเชื่อมหรือเหล็กไวร์เมชที่ผลิตแล้ว โดยมาตรฐาน มอก. ทั้ง 3 ตัวที่เราได้รับคือ
มาตรฐาน มอก.

  • มอก. 747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก. 943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก. 737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต

 

มาตรฐานเหล็กเส้น
เหล็กเส้นกลมที่นำไปผลิตตะแกรงไวร์เมช เป็นเหล็กเส้นกลมที่ได้มาตรฐาน มอก. 747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต

เหล็กเส้นข้ออ้อยที่นำไปผลิตตะแกรงไวร์เมช เป็นเหล็กข้ออ้อยที่ได้มาตรฐาน มอก. 943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต

 

มาตรฐานเหล็กตะแกรงไวร์เมช
เหล็กตะแกรงไวร์เมชที่ผลิต เราได้รับมาตรฐาน มอก. โดยการผลิตที่ได้มาตารฐานและแม่นยำ ทำให้ได้รับมาตรฐาน มอก. 737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต

 

 

ตารางแสดงรายละเอียด มอก. ตะแกรงไวร์เมช

รูป ประเภทวัสดุที่ได้ มอก. เลขที่ มอก. รายละเอียด
ตะแกรงไวร์เมช หรือตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต มอก. 737-2549 มอก.สำหรับตะแกรงไวร์เมช
เหล็กเส้นกลม มอก. 747-2531 มอก.สำหรับลวดเส้นกลม ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต ลวดเส้นกลมที่นำมาผลิตไวร์เมช
เหล็กเส้นข้ออ้อย มอก. 943-2533 มอก.สำหรับลวดข้ออ้อย ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต ลวดข้ออ้อยที่นำมาผลิตไวร์เมช

ข้อมูลเพิ่มเติม


แชร์ให้เพื่อน

คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

แชร์ให้เพื่อน

คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มเหล็กเข้าไปในโครงสร้าง เพื่อช่วยในการรับน้ำหนัก รับแรงอัดของคอนกรีต

การนำเหล็กเข้ามาเสริม จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง

เหล็กที่นำมาเสริมความแข็งแรงของคอนกรีตจะช่วยให้คอนกรีตรับแรงได้มากขึ้น โดยคอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง

ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ทำให้คอนกรีตอาจจะเกิดการแตกร้าว และเสียหายได้

 

คอนกรีตเสริมเหล็กที่พบได้บ่อยๆ เช่น

1.พื้นคอนกรีต เป็นการเทพื้นคอนกรีต โดยใช้เหล็กพิเศษที่มีลักษณะเป็นตะแกรง คือ “เหล็กตะแกรงไวร์เมช” ในการช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับพื้นคอนกรีต ช่วยให้คอนกรีตรับแรงอัดและรับน้ำหนักจากด้าน ได้ดีขึ้น โดยการติดตั้งตะแกรงไวร์เมช จะติดตั้งบนพื้นและเทคอนกรีตทับ ให้ตะแกรงไวร์เมชฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต ช่วยรับแรง รับน้ำหนักได้ดีขึ้น

โดยพื้นคอนกรีตโดยทั่วไปจะมีการใช้เหล็กตะแกรงไวร์เมช ในการก่อสร้างทุกไซต์งาน

2.เสาคอนกรีต จะมีการใช้เหล็กเส้น และปลอก มาผูกเป็นโครงเสา เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักทั้งแรงดึงและแรงกด ทำให้เสามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเหล็กที่ใช้ในการทำเสา จะมีทั้งเหล็กเส้นและเหล็กปลอกเสา

3.คานคอนกรีต ในคานคอนกรีตจะมีการใช้เหล็กเส้น และปลอกคานเพื่อช่วยรับน้ำหนัก และรับแรงดึงเช่นเดียวกับเสาคอนกรีต โดยเหล็กที่ใช้ในการทำคาน จะมีเหล็กเส้น และเหล็กปลอกคาน

ส่วนประกอบของคอนกรีตเสริมเหล็ก

– คอนกรีต (Concrete) : ทำมาจากส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ช่วยในการรับแรงอัด ของโครงสร้าง
– เหล็กเสริมแรง (Reinforcement Steel) :

  • ในงานโครงสร้างอาคาร มักใช้ เหล็กเส้นกลม หรือ เหล็กข้ออ้อย เหล็กปลอก ในงานที่มีความแข็งแรงสูง และเป็นงานโครงสร้างอาคาร ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึงของคอนกรีต
  • ในงานคอนกรีตที่เป้นงานพื้นจะใช้ “เหล็กตะแกรงไวร์เมช” ช่วยในการรับน้ำหนัก ป้องกันการแตกร้างของพื้นคอนกรีต

– น้ำ (Water) : ใช้เป็นตัวประสานส่วนผสมคอนกรีตให้จับตัวกัน ของปูน ทราย และหิน

 

เหล็กที่ใช้ในการเสริมคอนกรีต

  • เหล็กเส้น มีทั้งแบบเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย ใช้ในการเสริมคอนกรีตเช่น เสา และคาน หรือโครงสร้างอาคารที่ใช้คอนกรีตเกือบทุกชนิด
  • เหล็กปลอก มีทั้งแบบปลอกเสา ปลอกคาน ปลอกกลม และปลอกเหลี่ยม ใช้ในการเสริมคอนกรีตที่เป็นคาน และเสา
  • เหล็กตะแกรงไวร์เมช ใช้เสริมคอนกรีตที่เป็นงานพื้น เช่นพื้นบ้าน พื้นอาคาร โกดัง ปั๊มน้ำมัน ลานจอดรถ และถนนคอนกรีต เป็นต้น

การใช้ตะแกรงไวร์เมช เสริมความแข็งแรงให้กับถนนคอนกรีต

ตะแกรงไวร์เมช เสริมคอนกรีต
ตะแกรงไวร์เมช เสริมคอนกรีต
แชร์ให้เพื่อน