การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร

แชร์ให้เพื่อน

การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร

 

ไวร์เมชเทพื้น

ตะแกรงไวร์เมช

คือ ตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป สำหรับนำไปปูก่อนเทพื้นคอนกรีต เป็นเหล็กตะแกรงที่ผลิตมาจากโรงงาน สำหรับงานเทพื้นโดยเฉพาะ มีใ้ห้เลือกใช้งาน ทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผง ซึ่งผลิตจากเหล็กเส้นขนาดต่างๆ เช่น เหล็ก 3.2 mm., 4 mm. , 6 mm. , 9 mm. , 12 mm. เป็นต้น

โดยตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป หรือไวร์เมช เป็นตะแกรงที่ผลิตมาพร้อมใช้งานสะดวก และใช้งานได้เลย

ทั้งนี้ การเลือกใช้งานไวร์เมช ต้องดูความเหมาะสมทั้งการใช้งานของพื้น เช่น พื้นเป็นพื้นบ้านธรรมดา หรือ ถนนคอนกรีต หรือพื้นโกดัง ซึ่งจะต้องใช้ไวร์เมช สปคที่ต่างกัน ตามการคำนวณของวิศวกร

ข้อมูลเพิ่มเติม : ตะแกรงไวร์เมช

 

 

ตะแกรงเหล็กผูก

เหล็กเทพื้น หรือ เหล็กตะแกรงเทพื้น แบบผูกเหล็กเอง

เป็นการผูกเหล็กเส้นเป็นตะแกรงโดยใช้เหล็กเส้นตามความเหมาะสม หรือตามการคำนวณของช่าง การผูกเหล็กตะแกรงเทพื้น เป็นวิธีการทำตะแกรงเพื่อปูก่อนเทคอนกรีต ที่ทำมานาน ตั้งแต่ก่อนมีการผลิตไวร์เมช

โดยขั้นตอนการผูกตะแกรงเทพื้น คือ การน้ำเหล็กเส้น มาวางเพื่อทำเป็นตะแกรง แล้วใช้ลวดผูกเหล็กผูกเหล็กให้แน่นเป็นตะแกรง แล้วใช้งานเทคอนกรีตทับ โดยการผูกเหล็กจะผูกในพื้นที่หน้างานเลย ไม่สามารถขนย้ายเหล็กที่ผูกแล้วไปที่อื่นได้

ในการเทพื้นคอนกรีต จะมีการวางตะแกรงเทพื้น โดยมีเหล็กตะแกรง 2 แบบให้เลือกใช้ คือ ตะแกรงไวร์เมช กับ การผูกตะแกรงเหล็กเอง เรามาดูการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการใช้ไวร์เมชสำเร็จ กับการผูกตะแกรงเหล็กเอง ว่าดีเสีย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น

เปรียบเทียบตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูปกับการผูกตะแกรงเหล็กเอง

หัวข้อเปรียบเทียบ ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป การผูกตะแกรงเหล็กเอง
ความแข็งแรง ได้มาตรฐานจากโรงงาน โครงสร้างแน่นหนาเท่ากันทุกจุด ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับฝีมือช่างในการผูกเหล็ก อาจมีความคลาดเคลื่อน
ความรวดเร็วในการติดตั้ง ติดตั้งได้เร็ว เพียงปูลงพื้นแล้วเทคอนกรีตได้เลย ใช้เวลานาน ต้องผูกเหล็กทีละเส้น โดยใช้ลวดผูกเหล็ก
ต้นทุนค่าแรง ค่าแรงถูกกว่า เพราะติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ช่างฝีมือสูง ผลิตสำเร็จจากโรงงาน ค่าแรงแพงกว่า เพราะใช้เวลานานและต้องการช่างที่มีฝีมือ
ต้นทุนวัสดุ ราคาสูงกว่าการซื้อเหล็กเส้นมาผูกเอง ถูกกว่าเพราะซื้อเหล็กเส้นมาใช้งานเอง
ความสะดวกในการขนส่ง เป็นม้วนหรือแผ่นสำเร็จรูป ขนย้ายสะดวก ขนส่งยาก เพราะเป็นเหล็กเส้นยาว ต้องผูกและมัดให้ดี หรือไม่สามารถขนย้ายได้เลย
ความแม่นยำของระยะห่างเหล็ก ระยะห่างของตะแกรงเป็นมาตรฐาน มีมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน ระยะห่างอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการผูกของช่าง
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดและระยะห่างให้เลือก แต่ไม่สามารถปรับแต่งตามหน้างานได้ง่าย ต้องสั่งผลิตระยะห่างที่ต้องการจากโรงงาน ปรับแต่งระยะห่างและรูปแบบได้ตามต้องการ
ความทนทานต่อการใช้งาน เชื่อมติดแน่น ไม่หลุดง่าย ใช้งานได้นาน หากผูกเหล็กไม่แน่น อาจเกิดการคลายตัวได้
การใช้งานที่เหมาะสม เหมาะสำหรับงานเทพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโรงงาน หรืองานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการความยืดหยุ่น เช่น งานเสริมโครงสร้างพิเศษ
ความเรียบร้อยของงาน ได้มาตรฐานและเรียบร้อยกว่า อาจไม่เรียบร้อย หากช่างไม่ชำนาญในการผูกเหล็ก

สรุป
ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง ลดค่าแรง แต่ราคาวัสดุสูงกว่า

การผูกตะแกรงเหล็กเอง เหมาะกับงานที่ต้องการปรับแต่งเฉพาะจุด ลดต้นทุนวัสดุ แต่ต้องใช้เวลาและค่าแรงมากกว่า

หากต้องการเทพื้นขนาดใหญ่และเน้นความรวดเร็ว แนะนำให้ใช้ ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป
แต่ถ้าต้องการความยืดหยุ่นและประหยัดงบ การผูกตะแกรงเหล็กเอง อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

เลือกตะแกรงไวร์เมช

  • เหมาะสำหรับงานเทพื้นที่ต้องการ ความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง
  • ใช้กับพื้นขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโกดัง โรงงาน ถนน
  • ลดค่าแรง และได้งานเรียบร้อยกว่าการผูกตะแกรงเอง
  • เหมาะสำหรับงานเทพื้นทุกชนิด

เลือกตะแกรงผูกเอง

  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ ความยืดหยุ่นและปรับแต่งหน้างานได้
  • ใช้กับพื้นขนาดเล็กหรือซับซ้อน เช่น พื้นบ้าน งานเสริมโครงสร้างเฉพาะจุด
  • ประหยัดค่าวัสดุ แต่ต้องใช้ช่างฝีมือดี

ข้อมูลเพิ่มเติม การเลือกใช้ไวร์เมช


แชร์ให้เพื่อน

ตะแกรงไวร์เมชแบบ 1 แผง มีกี่ตารางเมตร

แชร์ให้เพื่อน

ตะแกรงไวร์เมชแบบ 1 แผง มีกี่ตารางเมตร?

สวัสดีครับ หลายๆคน ที่เลือกใช้งานไวร์เมช คงสงสัยว่าไวร์เมชแบบแผง 1 แผง มีกี่ตารางเมตร?

ตะแกรงไวร์เมชแบบแผง คือ ไวร์เมชที่มีขนาดเหล็ก 6 มม. , 8 มม., 9 มม. , 12 มม. ซึ่งเป็นขนาดลวดที่ใหญ่ และอาจจะเป็นเหล็กข้ออ้อย ซึ่งไม่สามารถม้วนได้

โดยไวร์เมช 1 แผง มีขนาดพื้นที่ดังนี้

  • 12 ตรม. (ขนาดแผง 2×6 เมตร)
  • 18 ตรม. (ขนาดแผง 3×6 เมตร)
  • 20 ตรม. (ขนาดแผง 2×10 เมตร)
  • 30 ตรม. (ขนาดแผง 3×10 เมตร)

สรุปคือ : ไวร์เมชแบบแผง มีขนาดพื้นที่ ต่อแผง ดังนี้ 12 ตรม., 18 ตรม., 20 ตรม., 30 ตรม.,

*** รับผลิตตะแกรงไวร์เมชแบบแผง ตามขนาดที่ต้องการ


ขนาดพื้นที่ไวร์เมชแบบแผง

กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) พื้นที่รวม (ตารางเมตร)
2 6 12
3 6 18
2 10 20
3 10 30

ข้อมูลเพิ่มเติม : ไวร์เมชแบบแผง
แชร์ให้เพื่อน

ตะแกรงไวร์เมช 1 ม้วน มีกี่ตารางเมตร

แชร์ให้เพื่อน

หลายคนคงเคยสงสัยว่า ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน 1 ม้วน มีกี่ ตารางเมตร?

วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันครับ ว่าตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน 1 ม้วน มีกี่ตรมกันแน่!

ตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน คือไวร์เมชที่มีขนาดเหล็ก 3.2 มม. , 4 มม. , 6 มม. ซึ่งเป็นเหล็กขนาดเล็กที่มสามารถผลิตไวร์เมชและม้วนได้ โดยที่ตารางไวร์เมชแบบม้วน 1 ม้วน มีขนาดพื้นที่ดังนี้ 

  • 20 ตรม. (ขนาดม้วน 2×10 เมตร )
  • 50 ตรม. (ขนาดม้วน 2×25 เมตร )
  • 100 ตรม (ขนาดม้วน 2×25 เมตร )

สรุปคือ ไวร์เมชแบบม้วนมีขนาดพื้นที่ 20 ตรม. , 50 ตรม. ,100 ตรม. ต่อม้วน ตามลำดับ นอกจากนี้ไวร์เมชแบบม้วน ของเรายังสามารถสังผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการอีกด้วย 


ขนาดพื้นที่ไวร์เมชแบบม้วน

กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) พื้นที่รวม (ตารางเมตร)
2 10 20
2 25 50
2 50 100


ข้อมูลเพิ่มเติม : ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผง แตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลเพิ่มเติม : ไวร์เมชแบบม้วน

แชร์ให้เพื่อน

วิธีติดตั้งรั้วลวดหนาม

แชร์ให้เพื่อน

วิธีติดตั้งรั้วลวดหนาม

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูวิธีการติดตั้งรั้วลวดหนามแบบง่าย สามารถติดตั้งได้เอง มาฝากกันครับ

รั้วลวดหนาม เป็นรั้วที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะติดตั้งง่าย ราคาประหยัด โดย รั้วลวดหนาม มีราคาประหยัดเมื่อเทียบกับรั้วแบบอื่นๆ และช่วยป้องกันบุคคลหรือสัตว์ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ได้


อุปกรณ์ที่ต้องใช้
– เสา เสารั้วอาจจะเลือกเป็นเสาไม้ หรือเสาปูน

  • เสาปูน ยาวประมาณ 2 เมตร หรือ 2.5 เมตร เลือกเสาปูนที่มีรู เสาปูนรั้วลวดหนามจะมีรูประมาณ 5-6 รู เพื่อเป็นตำแหน่งยึดลวดหนาม เพื่อสอดกิ๊บติดลวดหนาม ( เสาปูนรั้วลวดหนาม ขนาดหน้า 7.5 X 7.5 ซม.)
  • เสาไม้ ควรเลือกเป็นไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 2.0 หรือ 2.5 เมตร

– ลวดหนาม : เลือกขนาดและจำนวนเส้นตามความต้องการใช้งาน

– กิ๊บหนีบลวดหนาม : กิ๊บตัว V หรือ กิ๊บตัว U กิ๊บเอาไว้หนีบลวดหนาม
– ตะปู : ไว้ตอกยึดลวดหนามติดกับเสาไม้
– ลวดผูกเหล็ก : ใช้ยึดลวดหนามกับเสา
– คีมตัดลวด / คีมดึงลวด : ใช้ตัดและดึงลวดหนามให้ตึง
– ค้อน : ใช้ตอกตะปูหรือติดตั้งเสาไม้ หากใช้เป็นเสาไม้
– ตัววัดระดับน้ำ : ใช้เช็คระดับแนวรั้วให้ตรง หากต้องใช้เพื่อวัดแนวเสาให้ตรง


ขั้นตอนการติดตั้งรั้วลวดหนาม

1. วัดระยะและปักเสา
– วัดระยะห่างระหว่างเสา (โดยทั่วไปประมาณ 2-3 เมตร ต่อเสา  1 ต้น)
– ขุดหลุมลึก 30-50 ซม. เพื่อฝังเสาให้มั่นคง
– ตั้งเสาให้ตรง แล้วใช้ปูนหรือหินอัดแน่นเพื่อยึดเสาให้แข็งแรง
เสาต้นแรก และต้นสุดท้าย อาจจะหล่อปูน เป็นฐาน หรือใช้เป็นเสาฐานปูน เป็นระยะๆ อาจจะไม้ต้องใช้เสาฐานปูน ทุกต้นก็ได้

2. ขึงลวดหนามเส้นแรก (เส้นล่างสุด)
– ขึงลวดหนามเส้นแรกใกล้พื้นดิน โดยติดตั้งสูงจากพื้นประมาณ 10-20 ซม. จากพื้น
– ตรึงลวดกับเสาหลักให้แน่น โดยใช้ลวดผูกเหล็กหรือตะปูตอก หรือหากเป็นเสาปูนที่มีรู สามารถใช้กิ๊บหนีบ หนีบลวดหนามเข้ากับรูเสาได้
– ดึงลวดหนามให้ตึงก่อนผูกกับเสาต้นต่อไป

3. ขึงลวดหนามเส้นถัดไป โดยขึงเหมือนลวดเส้นแรก
– ติดตั้งลวดหนามเพิ่มอีก 3-5 เส้น ขึ้นอยู่กับความสูงที่ต้องการ
– ระยะห่างระหว่างเส้นลวดหนามควรอยู่ที่ 20-30 ซม.
– ตรวจสอบให้ทุกเส้นมีความตึงเท่ากัน

4. ตรวจสอบความแข็งแรงและปรับแต่ง รั้วลวดหนามให้มีระดับเท่าๆกัน และถูกต้อง
– ตรวจสอบว่าลวดหนามตึงดี ไม่มีจุดหย่อน
– เสริมความแข็งแรงตรงมุมรั้ว โดยใช้เสาตั้งเฉียงรับน้ำหนัก หรือใช้ฐานปูนขนาดใหญ่ รับแรงดึงให้แข็งแรง
– ตัดปลายลวดที่เกินออก และเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย

 

เคล็ดลับการติดตั้งรั้วลวดหนามให้แข็งแรง
– ใช้เสาที่แข็งแรง เช่น เสาปูน อาจจะทำฐานปูนในเสาต้นแรก และเสาต้นสุดท้าย หรือเป็นเสาฐานปูนในระยะที่เหมาะสม หากเป็นเสาไม้ อาจจะเลือกเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ข้อเสียของเสาไม้คือปลวกอาจจะกินไม้ได้ และเมื่อโดนแดดโดนลมฝน ไปนานๆ ไม้อาจจะผุได้ เพราะฉะนั้นเสาปูนมีความแข็งแรงและการใช้งานยาวนานกว่า
– ฝังเสาให้ลึกพอสมควร เพื่อไม่ให้โยกเมื่อโดนแรงดึง ทำการบดอัดดินรอบเสาเพื่อความแข็งแรง
– ดึงลวดให้ตึง แต่ไม่ตึงเกินไป จนทำให้เสาเอียง เพราะแรงดึงที่มากเกินไป
– ใช้ลวดหนามคุณภาพดี เพื่อให้รั้วมีอายุการใช้งานยาวนาน ในปัจจุนมีลวดหนามที่ชุบกัลวาไนซ์เพื่อให้ลวดหนามไม่เกิดสนิม หรือชุบตะแกรงพีวีซีเพิ่มเติมอีกด้วย

สรุป
การติดตั้งรั้วลวดหนามไม่ยาก หากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง นอกจากช่วยป้องกันพื้นที่ได้ดีแล้ว ยังช่วยประหยัดต้นทุนกว่าการใช้รั้วแบบอื่นๆ อีกด้วย โดยที่รั่วลวดหนามมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รั้วลวดหนาม

 

แชร์ให้เพื่อน