5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “เหล็กเอ็นทับหลัง” ที่ช่างควรรู้

แชร์ให้เพื่อน

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “เหล็กเอ็นทับหลัง” ที่ช่างควรรู้

1️⃣ เหล็กเอ็นทับหลังช่วยป้องกันผนังแตกร้าว
หน้าที่หลักของเหล็กเอ็นทับหลังคือช่วยเสริมความแข็งแรงให้ผนังบริเวณเหนือวงกบประตูหน้าต่าง ป้องกันการแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกดทับของโครงสร้าง หรือการกระแทกจากการใช้งานประตูหรือหน้าต่าง

2️⃣ คานทับหลังต้องติดตั้งร่วมกับเสาเอ็น
คานทับหลังควรติดตั้งคู่กับ เสาเอ็น ซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแนวตั้งที่มุมอาคารหรือข้างวงกบ เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักและทำให้ผนังมั่นคงยิ่งขึ้น

3️⃣ บริเวณประตูและหน้าต่าง ไม่ต้องติดตั้งเหล็กทับหลัง ได้หรือไม่
การก่อสร้างบ้าน หรืออาคารที่มีประตูหน้าต่าง และมีการก่ออิฐ จำเป็นต้องติดตั้ง “เหล็กทับหลัง” เสมอ

4️⃣ เหล็กเอ็นทับหลังสำเร็จรูป มีหลายขนาด
ขนาดมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปคือ 3,4,6 มิลลิเมตร โดยความยาวมักอยู่ที่ 25,30,50 เมตร ตามประเภทงานก่อสร้าง

5️⃣ งานก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน ต้องมีเหล็กเอ็นทับหลัง ติดตั้งเสมอ
บ้านหรืออาคารที่สร้างตามมาตรฐานวิศวกรรม ควรมีการติดตั้งเหล็กเอ็นทับหลังทุกจุดที่มีวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างโดยรวม

ข้อมูลเพิ่มเติม เหล็กเอ็นทับหลังสำเร็จรูป
ข้อมูลเพิ่มเติม หน้าสินค้าเหล็กเอ็นทับหลังสำเร็จรูป

สรุป
เหล็กเอ็นทับหลังเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของผนัง ควรเลือกใช้ขนาดและติดตั้งให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้โครงสร้างปลอดภัยและมีอายุการใช้งานยาวนาน


แชร์ให้เพื่อน

การใช้งานตะแกรงตัวหนอน

แชร์ให้เพื่อน

การใช้งานตะแกรงตัวหนอน

ตะแกรงตัวหนอนหรือตะแกรงตัวหนอน เป็นตะแกรงอีกแบบหนึ่งที่ใช้งานเอาไว้กั้น ทำรั้ว หรือกั้นสิ่งของต่างๆ ค่อนข้างแข็งแรง มั่นคง ไม่ยืดหยุ่น 

มาดูกันว่า ตะแกรงตัวหนอน ใช้งานอะไรได้บ้าง

การใช้งานตะแกรงตัวหนอน

1. งานก่อสร้าง:

  • ทำรั้ว: ใช้ทำรั้วกั้นเขต กั้นสัตว์ หรือรั้วตกแต่ง
  • ทำโครงสร้าง: ใช้ทำโครงสร้างสำหรับงานก่อสร้างเบาๆ เช่น โครงหลังคา โครงผนัง
  • ใช้ล้อมสถานที่ก่อสร้าง หรือใช้ป้องกันสิ่งของตก ในขณะที่กำลังก่อสร้าง

 

2. งานอุตสาหกรรม:

  • กรองสิ่งของต่างๆ: ใช้กรองวัสดุต่างๆ เช่น กรองดิน กรองทราย หรือกรองสิ่งต่างๆ ให้ออกจากกัน
  • ทำโครงสร้าง: ใช้ทำโครงสร้างสำหรับวางสินค้า หรือเครื่องจักร
  • ป้องกันการตกหล่น: ใช้ป้องกันวัตถุไม่ให้ตกลงมา หรือป้องกันอันตรายจากสิ่งของตกหล่น 

 

3. งานเกษตร:

  • ทำรั้ว: ใช้ทำรั้วสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น กรงไก่ กรงกระต่าย กรงหมา กรงแมว กรงสัตว์เลี้ยง
  • ทำโครงสร้าง: ใช้ทำโครงสร้างสำหรับโรงเรือนสัตว์ หรือโรงเรือนเพาะปลูก หรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

 

4. งานตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์:

  • ทำฉากกั้น: ใช้ทำฉากกั้นห้อง หรือแบ่งพื้นที่ หรือชั้นวางของ
  • ทำโครงสร้างเฟอร์นิเจอร์: เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ
  • ตกแต่งผนัง: ใช้ตกแต่งผนังให้ดูสวยงามและมีเอกลักษณ์

 

5. งานอื่นๆ:

  • ทำฝาครอบเครื่องจักร: เพื่อป้องกันอันตรายจากชิ้นส่วนเครื่องจักร
  • ทำตะแกรงระบายน้ำ: ใช้สำหรับระบายน้ำฝนหรือน้ำเสีย

เป็นต้น

นอกจากนี้ ตะแกรงตัวหนอนยังประยุกต์ใช้งานอื่นๆได้อีกมากมาย

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตะแกรงตัวหนอน ตะแกรงตัวหนอน


การใช้งานตะแกรงตัวหนอนล้อมสถานที่ต่างๆ ป้องกันอันตราย

 

แชร์ให้เพื่อน

ขั้นตอนการปูตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน

แชร์ให้เพื่อน

ขั้นตอนการปูไวร์เมชสำหรับเทพื้นคอนกรีตพื้นบ้าน

ตะแกรงไวร์เมชเป็นเหล็กตะแกรงประเภทหนึ่ง ที่ใช้งานสำหรับรองพื้นก่อนเทปูคอนกรีต หรือเป็นประเภท คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล) วันนี้เรามาดูไวร์เมชที่เหมาะกับใช้เทพื้นบ้าน

โดยปกติไวร์เมชที่ใช้เทพื้นบ้านจะใช้เป็นไวร์เมชแบบม้วน
– ขนาดเหล็ก 3 มม. , 4 มม. เป็นต้น
– ขนาดตาห่าง หรือระยะห่างของลวดเหล็ก (ระยะ@)
@ 15×15 เซนติเมตร
@ 20×20 เซนติเมตร
– ขนาดแผง (กว้างxยาว)
2×10 เมตร
2×25 เมตร

สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ

 

ขั้นตอนการเลือกใช้ไวร์เมช และการปูพื้นไวร์เมชสำหรับพื้นบ้าน

1.วัดขนาดพื้นที่ ที่ต้องการเทพื้นคอนกรีต ว่ามีขนาดพื้นที่กี่ตารางเมตร เช่น 250 ตรม. , 300 ตรม.
2.เลือกซื้อตะแกรงไวร์เมชแบบม้วน ตามขนาดพื้นที่บ้าน เช่น บ้านพื้นที่ 300 ตรม. หาใช้ไวร์เมชแบบม้วน 2×10 ตารางเมตร จะใช้ ไวร์เมช 15 ม้วน เป็นต้น
3.เตรียมพื้นที่บ้าน โดยเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งกีดขวางออก เคลียร์พื้นที่
4.เริ่มทำการปูตะแกรงไวร์เมช ในพื้นที่ที่ต้องการ
5.ทำการคลี่ไวร์เมชแบบม้วน ออกให้เป็นแผงก่อน
6.ตัดไวร์เมชให้ได้ตามขนาดหน้างาน หรือวางไวร์เมชตามแนวพื้นที่ต้องการ
7.ดัดเหล็กไวร์เมชไม่ให้กระดก หากมีปัญหาเหล็กกระดกขึ้นมา ให้นำของหนักมากดทับไว้ หรือทิ้งไว้สักระยะ เพื่อให้เหล็กคลายตัวและแนบชิดกับพื้น
8.เมื่อวางไวร์เมชหรือปูไวร์เมช บนหน้างานแล้ว ให้ทำการล็อคไวร์เมช โดยการนำแหลกงอ มาตอกทับไวร์เมชไว้ในส่วนที่ไวร์เมชเด้งหรือกระดกขึ้นมา

หลังจากทำตามขั้นตอนนี้ก็พร้อมที่จะเทปูนคอนกรีตต่อไป


ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน

 

ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน

 

ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน
ตะแกรงไวร์เมชเทพื้นบ้าน

 


แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมช ให้ลูกค้า

แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 02/05/2567


จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 09/05/2567


จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 09/03/2567


จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 11/02/2567


จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 15/01/2567


จัดส่งกัลวาไนส์ไวร์เมชให้ลูกค้า 07/01/2567

แชร์ให้เพื่อน