การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร

แชร์ให้เพื่อน

การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร

 

ไวร์เมชเทพื้น

ตะแกรงไวร์เมช

คือ ตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป สำหรับนำไปปูก่อนเทพื้นคอนกรีต เป็นเหล็กตะแกรงที่ผลิตมาจากโรงงาน สำหรับงานเทพื้นโดยเฉพาะ มีใ้ห้เลือกใช้งาน ทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผง ซึ่งผลิตจากเหล็กเส้นขนาดต่างๆ เช่น เหล็ก 3.2 mm., 4 mm. , 6 mm. , 9 mm. , 12 mm. เป็นต้น

โดยตะแกรงเหล็กเทพื้นสำเร็จรูป หรือไวร์เมช เป็นตะแกรงที่ผลิตมาพร้อมใช้งานสะดวก และใช้งานได้เลย

ทั้งนี้ การเลือกใช้งานไวร์เมช ต้องดูความเหมาะสมทั้งการใช้งานของพื้น เช่น พื้นเป็นพื้นบ้านธรรมดา หรือ ถนนคอนกรีต หรือพื้นโกดัง ซึ่งจะต้องใช้ไวร์เมช สปคที่ต่างกัน ตามการคำนวณของวิศวกร

ข้อมูลเพิ่มเติม : ตะแกรงไวร์เมช

 

 

ตะแกรงเหล็กผูก

เหล็กเทพื้น หรือ เหล็กตะแกรงเทพื้น แบบผูกเหล็กเอง

เป็นการผูกเหล็กเส้นเป็นตะแกรงโดยใช้เหล็กเส้นตามความเหมาะสม หรือตามการคำนวณของช่าง การผูกเหล็กตะแกรงเทพื้น เป็นวิธีการทำตะแกรงเพื่อปูก่อนเทคอนกรีต ที่ทำมานาน ตั้งแต่ก่อนมีการผลิตไวร์เมช

โดยขั้นตอนการผูกตะแกรงเทพื้น คือ การน้ำเหล็กเส้น มาวางเพื่อทำเป็นตะแกรง แล้วใช้ลวดผูกเหล็กผูกเหล็กให้แน่นเป็นตะแกรง แล้วใช้งานเทคอนกรีตทับ โดยการผูกเหล็กจะผูกในพื้นที่หน้างานเลย ไม่สามารถขนย้ายเหล็กที่ผูกแล้วไปที่อื่นได้

ในการเทพื้นคอนกรีต จะมีการวางตะแกรงเทพื้น โดยมีเหล็กตะแกรง 2 แบบให้เลือกใช้ คือ ตะแกรงไวร์เมช กับ การผูกตะแกรงเหล็กเอง เรามาดูการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการใช้ไวร์เมชสำเร็จ กับการผูกตะแกรงเหล็กเอง ว่าดีเสีย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การใช้ไวร์เมชกับการผูกเหล็กเทพื้น

เปรียบเทียบตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูปกับการผูกตะแกรงเหล็กเอง

หัวข้อเปรียบเทียบ ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป การผูกตะแกรงเหล็กเอง
ความแข็งแรง ได้มาตรฐานจากโรงงาน โครงสร้างแน่นหนาเท่ากันทุกจุด ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับฝีมือช่างในการผูกเหล็ก อาจมีความคลาดเคลื่อน
ความรวดเร็วในการติดตั้ง ติดตั้งได้เร็ว เพียงปูลงพื้นแล้วเทคอนกรีตได้เลย ใช้เวลานาน ต้องผูกเหล็กทีละเส้น โดยใช้ลวดผูกเหล็ก
ต้นทุนค่าแรง ค่าแรงถูกกว่า เพราะติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ช่างฝีมือสูง ผลิตสำเร็จจากโรงงาน ค่าแรงแพงกว่า เพราะใช้เวลานานและต้องการช่างที่มีฝีมือ
ต้นทุนวัสดุ ราคาสูงกว่าการซื้อเหล็กเส้นมาผูกเอง ถูกกว่าเพราะซื้อเหล็กเส้นมาใช้งานเอง
ความสะดวกในการขนส่ง เป็นม้วนหรือแผ่นสำเร็จรูป ขนย้ายสะดวก ขนส่งยาก เพราะเป็นเหล็กเส้นยาว ต้องผูกและมัดให้ดี หรือไม่สามารถขนย้ายได้เลย
ความแม่นยำของระยะห่างเหล็ก ระยะห่างของตะแกรงเป็นมาตรฐาน มีมาตรฐานที่ผลิตจากโรงงาน ระยะห่างอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการผูกของช่าง
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดและระยะห่างให้เลือก แต่ไม่สามารถปรับแต่งตามหน้างานได้ง่าย ต้องสั่งผลิตระยะห่างที่ต้องการจากโรงงาน ปรับแต่งระยะห่างและรูปแบบได้ตามต้องการ
ความทนทานต่อการใช้งาน เชื่อมติดแน่น ไม่หลุดง่าย ใช้งานได้นาน หากผูกเหล็กไม่แน่น อาจเกิดการคลายตัวได้
การใช้งานที่เหมาะสม เหมาะสำหรับงานเทพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโรงงาน หรืองานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการความยืดหยุ่น เช่น งานเสริมโครงสร้างพิเศษ
ความเรียบร้อยของงาน ได้มาตรฐานและเรียบร้อยกว่า อาจไม่เรียบร้อย หากช่างไม่ชำนาญในการผูกเหล็ก

สรุป
ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง ลดค่าแรง แต่ราคาวัสดุสูงกว่า

การผูกตะแกรงเหล็กเอง เหมาะกับงานที่ต้องการปรับแต่งเฉพาะจุด ลดต้นทุนวัสดุ แต่ต้องใช้เวลาและค่าแรงมากกว่า

หากต้องการเทพื้นขนาดใหญ่และเน้นความรวดเร็ว แนะนำให้ใช้ ตะแกรงไวร์เมชสำเร็จรูป
แต่ถ้าต้องการความยืดหยุ่นและประหยัดงบ การผูกตะแกรงเหล็กเอง อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

เลือกตะแกรงไวร์เมช

  • เหมาะสำหรับงานเทพื้นที่ต้องการ ความรวดเร็ว มีมาตรฐานสูง
  • ใช้กับพื้นขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ พื้นโกดัง โรงงาน ถนน
  • ลดค่าแรง และได้งานเรียบร้อยกว่าการผูกตะแกรงเอง
  • เหมาะสำหรับงานเทพื้นทุกชนิด

เลือกตะแกรงผูกเอง

  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ ความยืดหยุ่นและปรับแต่งหน้างานได้
  • ใช้กับพื้นขนาดเล็กหรือซับซ้อน เช่น พื้นบ้าน งานเสริมโครงสร้างเฉพาะจุด
  • ประหยัดค่าวัสดุ แต่ต้องใช้ช่างฝีมือดี

ข้อมูลเพิ่มเติม การเลือกใช้ไวร์เมช


แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งไวร์เมชให้ลูกค้า

แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งไวร์เมช วันที่ 07-01-2568


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 12-12-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 12-12-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 16-09-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 08-07-2567


จัดส่งตะแกรงไวร์เมชไฟเบอร์ วันที่ 12-06-2567

ข้อมูลเพิ่มเติม ตะแกรงไวร์เมชไฟเบอร์


จัดส่งตะแกรงไวร์เมช วันที่ 01-06-2567

แชร์ให้เพื่อน

พื้นแบบไหน ควรใช้ไวร์เมชเทคอนกรีต

แชร์ให้เพื่อน

พื้นแบบไหน ควรใช้ไวร์เมชเทคอนกรีต?

พื้นที่ที่ควรใช้ไวร์เมชรองก่อนเทคอนกรีต เพื่อความแข็งแรงและลดการแตกร้าวของพื้นคอนกรีต

การใช้ ไวร์เมช (Wire Mesh) รองพื้นก่อนเทคอนกรีตเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดการแตกร้าว และยืดอายุการใช้งานของพื้นผิวคอนกรีต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องรับน้ำหนักมาก หรือมีการใช้งานหนักต่อเนื่อง

พื้นที่ที่ควรใช้ไวร์เมชรองพื้นก่อนเทคอนกรีต

✅  พื้นโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมมักมีเครื่องจักรขนาดใหญ่และต้องรองรับการเคลื่อนย้ายวัสดุต่างๆ การเสริมไวร์เมชจะช่วยกระจายแรงและทำให้พื้นคอนกรีตมีความแข็งแรงมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการแตกร้าวหรือทรุดตัว

✅  พื้นโกดังสินค้า
โกดังต้องรองรับน้ำหนักสินค้าที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของรถยก ไวร์เมชช่วยเสริมโครงสร้างของพื้นให้ทนทานขึ้น ลดปัญหาการแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกดทับเป็นเวลานาน

✅  พื้นลานจอดรถ
ลานจอดรถ โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงาน ต้องรองรับน้ำหนักรถยนต์จำนวนมาก หากไม่มีไวร์เมช พื้นคอนกรีตอาจแตกร้าวและเสียหายได้ง่าย การใช้ไวร์เมชช่วยเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าวจากแรงกดทับ

✅  พื้นถนนคอนกรีต
ถนนคอนกรีตต้องรองรับการจราจรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแรงกระแทกจากรถยนต์ขนาดใหญ่ ไวร์เมชช่วยกระจายแรง ลดการแตกร้าว และเพิ่มอายุการใช้งานของพื้นถนน

เป็นต้น

✅  พื้นบ้าน ที่เทคอนกรีต 

พื้นบ้าน ที่เทคอนกรีตควรใช้ไวร์เมช รองก่อนเทปูนคอนกรีตเพื่อความแข็งแรงของพื้นคอนกรีตในบ้าน ป้องกันการแตกร้าว ของพื้นคอนกรีต

 

ข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะก่อสร้างพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับช่างก่อสร้าง


ตะแกรงไวร์เมช
แชร์ให้เพื่อน

ไวร์เมช แต่ละขนาดเหมาะกับพื้นประเภทใดบ้าง

แชร์ให้เพื่อน

ไวร์เมช แต่ละขนาดเหมาะกับพื้นประเภทใดบ้าง

สวัสดีครับ เราทราบกันดีว่า เหล็กตะแกรงไวร์เมช หรือเหล็กที่เอาไว้รองก่อนกับคอนกรีต ในการทำพื้นคอนกรีตเช่น งานพื้นบ้าน พื้นโรงงาน พื้นถนนเป็นต้น

วันนี้ เรามาดูกันว่า ตะแกรงไวร์เมชแต่ละขนาดเหมาะกับงานพื้นแบบใดบ้าง

ขนาดไวร์เมชกับงานพื้นที่เหมาะสม

  • ไวร์เมชขนาด 3 มิลลิเมตร – 3.2 มิลลิเมตร ระยะช่องห่างจะมีตั้งแต่ 10×10 เซนติเมตร และ 25×25 เซนติเมตร เหมาะกับงานพื้นที่รับน้ำหนักไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านและพื้นอาคาร เช่นหอประชุมโรงเรียน ที่ว่าการ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็น ไวร์เมชแบบม้วน ผลิตจากลวดเล้นเล็ก สามารถม้วนเป็นขดได้
  • ไวร์เมชขนาด 4 มิลลิเมตร ระยะช่องห่างจะมีขนาด 20×20 เซนติเมตร เป็นไวร์เมชขนาดที่ใหญ่ขึ้น ส่วนมากจะใช้ปูพื้นบ้านที่รับน้ำหนักขึ้นมา โรงรถ ลานจอดรถ พื้นโรงงาน เป็นต้น
  • ไวร์เมชขนาดตั้งแต่ 6 มิลลิเมตร ไวร์เมชที่หมาะกับงานถนน จะใช้สำหรับงานปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้ดี ช่วยให้พื้นถนนรับน้ำหนักที่เหมาะสม ป้องกันการแตกร้าวของถนน คอนกรีตยึดเกาะกันดี
  • ไวร์เมชขนาด 9 มิลลิเมตร – 12 มิลลิเมตร  ส่วนใหญ่จะเป็นไวร์เมชแบบแผง เพราะผลิตจากลวดเส้นใหญ่ที่ไม่สามารถม้วนได้ จะใช้สำหรับงานปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักที่หนักมากๆ หรืองานที่ต้องการรับน้ำหนักมากๆ เช่นโกดังที่เก็บเครื่องจักร ท่าเรือ ที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น


แชร์ให้เพื่อน