ไวร์เมชแบบแผง

ไวร์เมชแบบแผง

แชร์ให้เพื่อน

ไวร์เมชแบบแผง

ไวร์เมชแบบแผง คือ ตะแกรงเหล็กเทพื้น หรือไวร์เมชที่ผลิตมาในรูปแบบแผง ขนาดแผง เช่น 2×6 ม., 3×6 ม., 2×10 ม., 3×10 ม. เป็นต้น มีขนาดและความหนาที่หลากหลาย มักใช้ในงานก่อสร้าง ทำพื้นคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงและทนทานสูง เช่น ลานจอดรถ โรงงาน โกดัง สินค้า เป็นต้น

ขนาดของไวร์เมชแบบแผง
ขนาดลวดเหล็กที่ใช้ผลิตไวร์เมชแบบแผง

ขนาดลวด (มม.) ขนาดตาห่าง (ซม.) ขนาดแผง (กว้าง x ยาว) (เมตร) ขนาดพื้นที่ (ตรม.)
6 มม. 15x15,20x20,25x25,30x30,35x35 2x6 ม., 3x6 ม., 2x10 ม., 3x10 ม. 12,18,20,30
8 มม. 15x15,20x20,25x25,30x30,35x35 2x6 ม., 3x6 ม., 2x10 ม., 3x10 ม. 12,18,20,30
9 มม. 15x15,20x20,25x25,30x30,35x35 2x6 ม., 3x6 ม., 2x10 ม., 3x10 ม. 12,18,20,30
10 มม. 15x15,20x20,25x25,30x30,35x35 2x6 ม., 3x6 ม., 2x10 ม., 3x10 ม. 12,18,20,30
12 มม. 15x15,20x20,25x25,30x30,35x35 2x6 ม., 3x6 ม., 2x10 ม., 3x10 ม. 12,18,20,30

 


ความพิเศษของไวร์เมชแบบแผง

  • ความแข็งแรงสูง: ทำจากเหล็กเส้นขนาดใหญ่และหนา ทำให้มีความแข็งแรงและทนทานสูง สามารถรับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่ต้องการความมั่นคง
  • ขนาดตาที่สม่ำเสมอ: มีขนาดตาที่สม่ำเสมอ ทำให้มีความเรียบร้อยและสวยงาม เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความประณีต ผลิตด้วยมาตรฐาน มอก.
  • ความหลากหลาย: มีขนาดและรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกใช้งาน ทำให้สามารถปรับใช้ได้กับงานก่อสร้างหลายประเภท
  • ประหยัดเวลาและแรงงาน: สามารถนำไปใช้งานได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการก่อสร้าง

 

ข้อดีของไวร์เมชแบบแผง

  • รับน้ำหนักได้ดีกว่าแบบม้วน ผลิตจากเส้นลวดที่ใหญ่กว่า
  • ติดตั้งง่าย ไม่ต้องปรับให้เรียบก่อนเท ผลิตในรูปแบบแผง พร้อมติดตั้ง ไม่มีปัญหาเรื่องไวร์เมชกระดก แบบไวร์เมชม้วน
  • เสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต
  • ช่วยให้คอนกรีตกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้คอนกรีตมีความเรียบเนียนและสวยงาม
  • ใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น งานพื้น งานผนัง งานโครงสร้าง
  • ทนทานต่อการกัดกร่อนและสภาพแวดล้อม
  • รองรับงานของทางราชการ เพราะเป็นไวร์เมชที่มีมาตรฐาน มอก. และตรงตามสเปคของทางราชการ ทั้งในงานถนนคอนกรีต และการก่อสร้างสถานที่ราชการ

 

ข้อเสียของไวร์เมชแบบแผง

  • ราคาสูงกว่าไวร์เมชแบบม้วน เพราะเหล็กขนาดที่ใหญ่กว่า และต้นทุนมากกว่า
  • ใช้พื้นที่ขนส่งและจัดเก็บมากกว่าไวร์เมชแบบม้วน
  • เคลื่อนย้ายลำบาก น้ำหนักมาก กานขนส่งทำได้ยากกว่าไวร์เมชแบบม้วน ทางบริษัทเรามีบริการจัดส่งไวร์เมชแบบแผง ถึงหน้างานของท่าน
  • ราคาสูงกว่าแบบม้วน ไวร์เมชแบบแผง ผลิตจากลวดเส้นใหญ่กว่าไวร์เมชแบบม้วน ทำให้มีต้นทุนและราคาที่มากกว่าไวร์เมชแบบม้วน
  • ไม่เหมาะกับงานพื้นที่กว้างและยาวต่อเนื่อง ในลักษณะหน้างานแบบกว้างและยาว ควรใช้ตะแรกงไวร์เมชแบบม้วน

 

ไวร์เมชแบบแผง ใช้งานอะไร?

  • เทพื้นคอนกรีตเสริมแรง เช่น พื้นบ้าน, พื้นโรงงาน, ลานจอดรถ
  • เทพื้นถนน ใช้เสริมความแข็งแรงให้พื้นถนนที่รับน้ำหนักมาก โดยเฉพาะงานถนนของทางราชการ เช่น ถนนคอนกรีต เป็นต้น
  • ใช้เสริมแรงในงานก่อสร้าง ลดโอกาสแตกร้าวของคอนกรีต งานพื้นคอนกรีตทุกประเภท

ไวร์เมชแบบแผง ใช้ในการเทคอนกรีตของทางราชการ เช่น ถนนคอนกรีต หรือพื้นสถานที่ราชการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 


ข้อมูลเพิ่มเติม 



แชร์ให้เพื่อน

ตะแกรงไวร์เมชแบบ 1 แผง มีกี่ตารางเมตร

แชร์ให้เพื่อน

ตะแกรงไวร์เมชแบบ 1 แผง มีกี่ตารางเมตร?

สวัสดีครับ หลายๆคน ที่เลือกใช้งานไวร์เมช คงสงสัยว่าไวร์เมชแบบแผง 1 แผง มีกี่ตารางเมตร?

ตะแกรงไวร์เมชแบบแผง คือ ไวร์เมชที่มีขนาดเหล็ก 6 มม. , 8 มม., 9 มม. , 12 มม. ซึ่งเป็นขนาดลวดที่ใหญ่ และอาจจะเป็นเหล็กข้ออ้อย ซึ่งไม่สามารถม้วนได้

โดยไวร์เมช 1 แผง มีขนาดพื้นที่ดังนี้

  • 12 ตรม. (ขนาดแผง 2×6 เมตร)
  • 18 ตรม. (ขนาดแผง 3×6 เมตร)
  • 20 ตรม. (ขนาดแผง 2×10 เมตร)
  • 30 ตรม. (ขนาดแผง 3×10 เมตร)

สรุปคือ : ไวร์เมชแบบแผง มีขนาดพื้นที่ ต่อแผง ดังนี้ 12 ตรม., 18 ตรม., 20 ตรม., 30 ตรม.,

*** รับผลิตตะแกรงไวร์เมชแบบแผง ตามขนาดที่ต้องการ


ขนาดพื้นที่ไวร์เมชแบบแผง

กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) พื้นที่รวม (ตารางเมตร)
2 6 12
3 6 18
2 10 20
3 10 30

ข้อมูลเพิ่มเติม : ไวร์เมชแบบแผง
แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งไวร์เมชให้ลูกค้า

แชร์ให้เพื่อน

จัดส่งไวร์เมช วันที่ 07-01-2568


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 12-12-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 12-12-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 16-09-2567


จัดส่งไวร์เมช วันที่ 08-07-2567


จัดส่งตะแกรงไวร์เมชไฟเบอร์ วันที่ 12-06-2567

ข้อมูลเพิ่มเติม ตะแกรงไวร์เมชไฟเบอร์


จัดส่งตะแกรงไวร์เมช วันที่ 01-06-2567

แชร์ให้เพื่อน

เทพื้นคอนกรีตแบบไม่ปูไวร์เมช ได้ไหม?

แชร์ให้เพื่อน

เทพื้นคอนกรีตแบบไม่ปูไวร์เมช ได้ไหม?

สำหรับการทำพื้นปูนคอนกรตหรือพื้นปูน เช่นพื้นบ้าน ลานจอดรถ ปั๊มน้ำมันหรือพื้นปูนทั่วๆไป เราทราบใาแล้วว่าส่วนใหญ่นั้นมักจะมีการใช้ตะแกรงไวร์เมชปูเพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าว แต่ถ้าเราจะไม่ปูไวร์เมช จะสามารถทำได้หรือไม่

คำตอบคือ ได้ แต่ไม่แนะนำ

การเทพื้นคอนกรีตโดยไม่ใช้ไวร์เมชเป็นไปได้ แต่จะส่งผลต่อความแข็งแรงและอายุการใช้งานของพื้นคอนกรีตในระยะยาว

ทำไมต้องใช้ไวร์เมช?

– เพิ่มความแข็งแรง: ไวร์เมชทำหน้าที่เสริมเหล็กให้กับพื้นคอนกรีต ช่วยกระจายแรงดึงและแรงอัด ทำให้พื้นมีความแข็งแรงมากขึ้น ทนทานต่อแรงกระแทก และลดการแตกร้าว
– ป้องกันการหดตัว: เมื่อคอนกรีตแห้งตัว จะเกิดการหดตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยร้าวได้ ไวร์เมชช่วยลดการหดตัวของคอนกรีต และช่วยให้พื้นเรียบเสมอกัน
– เพิ่มความยืดหยุ่น: ไวร์เมชช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพื้นคอนกรีต ทำให้พื้นสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

 

ผลกระทบจากการไม่ใช้ไวร์เมช

หากไม่ปูไวร์เมชก่อนการเทปูน พื้นจะมีปัญหาในการใช้งานระยะยาวดังนี้

– พื้นแตกร้าวง่าย: เนื่องจากไม่มีโครงสร้างเสริม ทำให้พื้นคอนกรีตมีโอกาสแตกร้าวสูง โดยเฉพาะในบริเวณที่รับน้ำหนักมาก
– อายุการใช้งานสั้น: พื้นคอนกรีตที่ไม่มีไวร์เมชจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า และอาจต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง
– ความแข็งแรงลดลง: พื้นคอนกรีตจะสูญเสียความแข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร

 

เมื่อไหร่ที่สามารถเทพื้นคอนกรีตโดยไม่ใช้ไวร์เมชได้?

การเทพื้นที่ไม่ใช้ไวร์เมชรองก่อนก็ย่อมทำได้ แต่ควรเป็นพื้นปูนลักษณะเช่นนี้

– พื้นที่ขนาดเล็ก: เช่น ทางเดินเล็กๆ หรือพื้นที่ที่รับน้ำหนักน้อย
– พื้นที่ชั่วคราว: เช่น พื้นที่ก่อสร้างชั่วคราว เช่นใช้ในงานชั่วคราว ไม่ต้องการความทนทานในระยะยาว
– พื้นที่ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมาก: เช่น พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้

สรุป

แม้ว่าการเทพื้นคอนกรีตโดยไม่ใช้ไวร์เมชจะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่แนะนำ เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อความแข็งแรงและอายุการใช้งานของพื้นคอนกรีตในระยะยาว หากต้องการให้พื้นคอนกรีตมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรใช้ไวร์เมชเสริม

 

คำแนะนำ

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ก่อนตัดสินใจเทพื้นคอนกรีต ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญการ เพื่อให้ได้คำแนะนำที่เหมาะสมกับพื้นที่และงบประมาณของคุณ
– เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ: ทั้งปูนซีเมนต์ ทราย หิน และไวร์เมช ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน
– ปฏิบัติตามขั้นตอนการเทพื้นอย่างถูกต้อง: การเตรียมพื้นฐาน การผสมคอนกรีต และการเทพื้น ควรทำตามขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

แชร์ให้เพื่อน