เหล็กเสริมคอนกรีต

mfg

แชร์ให้เพื่อน

เหล็กเสริมคอนกรีต
ในการก่อสร้างพื้นคอนกรีตหรือพื้นปูนนั้น จำเป็นต้องให้พื้นหรือคอนกรีตนั้นรับแรงกดได้ จึงมีการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต เพื่อช่วยให้คอนกรีตแข็งแรงมากขึ้น ตะแกรงไวร์เมชได้รับความนิยมในการใช้เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตมากขึ้นเรื่อยๆ
เหล็กเสริม (reinforcement) คือ เหล็กที่ใช้สำหรับเสริมคอนกรีตซึ่งปกติจะเป็นเหล็กกล้าชนิดท่อน ชนิดเส้น หรือชนิดแบบตะแกรง ฝังในลักษณะที่ทำให้เหล็กและคอนกรีตร่วมกันต้านทานต่อแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพื้นคอนกรีตได้

เหล็กเสริมคอนกรีตมีหลายชนิดเช่น

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

1.เหล็กเส้น 

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต คือ วัสดุที่ทำจากเหล็กกล้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องรับแรงดึงสูง เช่น คาน เสา พื้น และฐานราก

การใช้งานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

  • เสา: ใช้เสริมในเสาเพื่อรับน้ำหนักจากส่วนบนของอาคาร
  • คาน: ใช้เสริมในคานเพื่อรับน้ำหนักจากพื้นและหลังคา
  • พื้น: ใช้เสริมในพื้นเพื่อกระจายน้ำหนักและป้องกันการแตกร้าว
  • ฐานราก: ใช้เสริมในฐานรากเพื่อรับน้ำหนักของทั้งโครงสร้างอาคาร

ไวร์เมชเสริมคอนกรีต

2.เหล็กไวร์เมช

เหล็กไวร์เมช หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า ตะแกรงไวร์เมช นั้น เป็นวัสดุที่สำคัญอย่างยิ่งในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตเสริมเหล็กหรืองานพื้น ไวร์เมชมีหน้าที่หลักในการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต ทำให้โครงสร้างมีความมั่นคงและทนทานมากยิ่งขึ้น

การใช้งานไวร์เมชในงานก่อสร้าง

  • เสริมควาแข็งแรงให้พื้นคอนกรีต ใช้เป็นโครงสร้างเสริมในคอนกรีต เช่น งานพื้นคอนกรีต

 

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า คอนกรีตมีคุณสมบัติในการับแรงอัดได้สูง แต่จะเปราะบางและอ่อนแอต่อการรับแรงดึง แรงกดทับ ดังนั้นในการนำเอาเหล็กซึ่งมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดแระแรงดึงสูง ทั้งยังมี สัมประสิทธิ์ในการยึดหดตัวเท่าๆ กับคอนกรีตมาใช้ร่วมกัน จึงเหมาะต่อการนำเอามาออกแบบเพราะจะทำให้ได้โครงสร้างที่แข็งแรง ทั้งนี้เนื่องจากการที่วัสดุทั้งสองช่วยกันรับและถ่ายแรงร่วมกัน กล่าวคือ เหล็กจะทำหน้าที่ในการรับแรงดึง (โดยทั่วไปให้พิจารณาเฉพาะความสามารถในการรับแรงดึง) ขณะที่คอนกรีตจะทำหน้าที่ในการรับแรงอัด ก็จะทำให้คอนกรีตที่ใช้เหล็กเสริม หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก (reinforced concrete) สามารถรับแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี หรือมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง การเสริมเหล็กในจุดที่เกิดแรงเฉือน อาทิเช่น เหล็กคอม้า (bent up bar) หรือเหล็กปลอก (stirrup) ก็สามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างได้ นอกจากนั้นการใช้เหล็กเสริม ยังสามารถช่วยลดขนาดของเสาหรือคานลงได้ โดยไม่ทำให้ความแข็งแรงลดลงแต่อย่างใด ถ้าขนาดที่ใช้เหมาะสม เหล็กเสริมที่ถูกดัดงอในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

สำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการเหล็กเสริม ในการกำหนด ชนิด ปริมาณ และตำแหน่งของเหล็กเสริมจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร ผู้ทำการก่อสร้างจะต้องทำตามข้อกำหนด และรูปแบบที่วิศวกรกำหนดมาให้ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามโดยมิได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ออกแบบ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งกับชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้

เรามาทราบกันเกี่ยวกับพื้นคอนกรีต ว่าใช้เหล็กเสริมแบบไหนบ้าง ในการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตกับพื้นคอนกรีต พื้นถนน หรือพื้นปูนนั้น นิยมใช้ชนิดแบบเป็นตะแกรง โดยแบ่งเป็นสองอย่าง คือแบบตะแกรงผูกเอง กับแบบ ตะแกรงไวร์เมช ที่พร้อมใช้ 

 

ตะแกรงเหล็กเทพื้นแบบผูกเอง

ตะแกรงแบบผูกเหล็กเอง 
ในการใช้งานนั้นจะนำเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กเส้นข้ออ้อย มาวางพาดกัน แล้วใช้ลวดผูกเหล็กผูกให้เป็นลักษณะของตะแกรง ก่อนทำการเทพื้นปูนหรือคอนกรีต โดยเลือกใช้เหล็กเส้นขนาดต่างๆ ตามลักษณะของงานที่ใช้ 

 


ตะแกรงเหล็กไวร์เมชเทพื้นแบบสำเร็จ

ตะแกรงไวร์เมช 
เป็นตะแกรงแบบสำเร็จรูปที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีขนาดต่างๆ ที่เหมาะกับลักษณะของงานและขนส่งง่าย ใช้งานง่าย สั่งผลิตได้ตามความต้องการ ตะแกรงไวร์เมชมีหลายขนาด และมีเหล็กเส้นทั้งเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลม

ขนาดของตะแกรงไวร์เมช นอกจากนี้ยังสั่งผลิตได้ตามความต้องการได้ด้วยครับ 

ขนาดลวด (mm.) ระยะห่าง (cm.) กว้าง X ยาว (m.) เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย
3.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
3.2 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
4.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
5.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
6.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
7.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
8.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
9.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
10.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
12.0 ขนาดตามต้องการ ขนาดตามต้องการ
ไวร์เมชแบบแผง

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน